![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjHf08x-VbLUiXaiwabSzFP1abwjR950YVtDQh2hxO1Iuen27_DKW00b9X78-y0bKNz-ziFJwrwf88TkB9EF7JuLK0753aq0af-FVLV2I5qvnuwSNXEhh6zV0MY4A4XBhaNGLaokZejS5pn/s1600/chemistry.jpg)
พันธะเคมี คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเองเพื่อทำให้วาเลนต์อิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับแปด เพื่อที่จะทำให้อะตอมนั้น ๆ มีความเสถียรและสามารถดำรงอยู่อย่างอิสระ พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น
- พันธะโควาเลนต์ คือการใช้วาเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน อันเนื่องมาจากมีค่า EN (อิเล็กโตเนกาติวิตี) ใกล้เคียงกัน และเคลื่อนที่มาอยู่ในวงโคจรที่เหมาะสม และมีพลังงานศักย์ต่ำที่สุด
- พันธะโคออดิเนทโควาเลนต์
- พันธะโลหะ
- พันธะไอออนิก เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างโลหะกับอโลหะ
- พันธะไฮโดรเจน